หมวดที่ 3 การจัดการทรัพยากรและพลังงาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินงาน หลักฐาน
หมวดที่ 3 การจัดการทรัพยากรและพลังงาน
1. มีแผนงานและดําเนินการตามมาตรการประหยัดไฟฟ้า น้ำ และทรัพยากร สำนักหอสมุดมีแผนงาน (3.1-1) และดําเนินการตามมาตรการประหยัดไฟฟ้า การใช้น้ำ และการจัดการขยะ (3.1-2) มีคณะทำงานรับผิดชอบ เน้นให้บุคลากรและผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการช่วยประหยัดไฟฟ้า น้ำ และทรัพยากร ได้แก่ การเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าจากหลอด T5 เป็นหลอด LED เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้า และประสิทธิภาพแสงสว่างที่ดีกว่า การติดไฟกระตุกในพื้นที่สำนักงาน และพื้นที่ให้บริการบางจุด การติดสติ๊กเกอร์เพื่อให้สามารถปิดไฟบางดวงได้ เมื่อไม่มีผู้ใช้ บริการอยู่หรือขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละช่วงวัน การให้ความรู้แก่แม่บ้านให้เปิด-ปิด ไฟตามสัญลักษณ์ในพื้นที่ การจัดทำป้ายขอความร่วมมือจากผู้ใช้บริการ เป็นต้น ในด้านการใช้น้ำ สำนักหอสมุดเปลี่ยนอุปกรณ์สุขภัณฑ์บางส่วน อาทิ ก๊อกน้ำ ยังเป็นแบบเดิม (ปุ่มกด PUSH) ซึ่งมีระดับแรงดันน้ำออกมามาก ให้เป็นหัวก๊อกแบบประหยัดน้ำ ทั้งนี้ในส่วนของหัวก๊อกแบบเดิมที่ยังคงต้องใช้งานอยู่ ให้ปรับแรงดันน้ำให้มีความพอดี เพื่อไม่ให้เป็นการสูญเสียน้ำมากเกินไป และได้จัดป้ายประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ใช้บริการตระหนักถึงคุณค่าของน้ำและช่วยกันประหยัดน้ำได้มากยิ่งขึ้น (3.1-3) ด้านการใช้ทรัพยากรต่างๆ อาทิ การใช้อุปกรณ์สำนักงาน การใช้กระดาษ ได้ใช้กิจกรรม 5ส และ 7ส (3.1-4, 3.1-5) เป็นส่วนส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด ได้แก่ การใช้อุปกรณ์สำนักงานบางประเภทร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) กบเหลาดินสอ เครื่องเจาะกระดาษ แผ่นรองตัด ฯลฯ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด นอกจากนั้นได้รณรงค์ให้บุคลากรลดการใช้กระดาษ โดยใช้ระบบสารบรรณออนไลน์เปิดอ่านหนังสือเวียน และคำสั่งต่าง ๆ แทนการเวียนเอกสารแบบเดิม และใช้สื่อ Social Media ในการแจ้งข่าวสารประชาสัมพันธ์ให้บุคลากร อาจารย์ นิสิต และผู้ใช้บริการ แทนการแจ้งโดยการใช้เอกสาร และรณรงค์การใช้กระดาษ Reuse เมื่อต้องการพิมพ์ข้อมูลที่ไม่ได้ส่งออกระหว่างหน่วยงาน และเก็บกระดาษที่ใช้แล้ว 2 หน้า เพื่อรวบรวมให้กับศูนย์พระมหาไถ่ โรงเรียนนักเรียนตาบอด เพื่อนำกระดาษไปทำอักษรเบรลล์ และมีการตั้งค่าเครื่องถ่ายเอกสารให้เป็นแบบโหมดประหยัดหมึกและเวลา (3.1-6)
2. มีแผนงานและดําเนินการลดปริมาณ ของเสีย สำนักหอสมุดมีแผนงานและดําเนินการลดปริมาณของเสีย โดยเลือกวิธีการจัดการที่เหมาะสม ลดปริมาณขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) มีการตรวจสอบความถูกต้อง ในการคัดแยกและบันทึกปริมาณขยะ (3.2-1) มีพื้นที่รวบรวมขยะก่อนส่ง กำจัดและมีวิธีการส่งกำจัดที่เหมาะสมสำหรับขยะแต่ละประเภท (3.2-2) ด้านการลดปริมาณของเสีย สำนักหอสมุดดำเนินการจัดหา ถังขยะ โดยจำแนกประเภทถังขยะ (3.2-3) ได้แก่ ประเภททั่วไป รีไซเคิล และขยะอันตราย ในส่วนของพื้นที่รับประทานอาหารมีการจำแนกถังขยะ เพื่อนำเศษอาหารไปเป็นอาหารสัตว์ต่อไป ทั้งนี้ในส่วนของการแยกขยะประเภทรีไซเคิลจะมีแม่บ้านคัดแยกและนำไปไว้ที่จุดส่วนกลาง (3.2-4) ส่วนขยะทั่วไปที่นำไปทิ้ง ให้แม่บ้านชั่งปริมาณน้ำหนักขยะ (กิโลกรัม) และ ลงบันทึกข้อมูลไว้ โดยนำไปทิ้งที่ถังขยะของส่วนอาคารสถานที่ เพื่อทางเทศบาลมารับต่อไป ในส่วนของพื้นที่การรับประทานอาหาร และร้านกาแฟของสำนักหอสมุด มีการติดตั้งถังดักจับไขมันไว้ (3.2-5) เนื่องจากอาจทำให้ท่อระบายน้ำอุดตันและเกิดน้ำเน่าเสีย โดยจะมีแม่บ้านช้อนเอาไขมันที่ลอยขึ้นมาจากถังดักจับไขมันใส่ถุงดำและนำไปทิ้งในขยะที่กำหนดให้สัปดาห์ละครั้ง ในส่วนของบุคลากรได้มีการรณรงค์ให้นำภาชนะอาหาร (ส่วนตัว) มาใช้แทนการใช้กล่องโฟม และแก้วน้ำส่วนตัวสำหรับใส่กาแฟ นอกจากนี้ในส่วนของกิจกรรมต่าง ๆ ยังได้นำปฎิทินแบบตั้งโต๊ะ กระดาษใช้แล้ว เพื่อส่งต่อไปยังโรงเรียนสอนคนตาบอด เป็นต้น
3. มีข้อกําหนดและเงื่อนไขการว่าจ้าง (Term of Reference: TOR) เพื่อควบคุมหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ภายในห้องสมุดให้ปฏิบัติตามข้อกําหนด ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สำนักหอสมุดมีข้อกําหนดและเงื่อนไขการว่าจ้าง (Term of Reference: TOR) เพื่อควบคุมหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่ภายในห้องสมุด โดยกำหนดผู้รับจ้างทำความสะอาดใช้วัสดุอุปกรณ์และน้ำยาทำความสะอาดไม่เป็นอันตรายต่อบุคลากรและสิ่งแวดล้อม สำนักหอสมุดได้กำหนดขอบเขตงานจ้างเหมาบริการทำความสะอาด โดยมีลักษณะงานโดยทั่วไป คือ ผู้รับจ้างต้องบริหารจัดการทำความสะอาดพื้นที่ให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด และสอดคล้องกับนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green and Clean University) ของมหาวิทยาลัย โดยใช้อุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผู้รับจ้างจะต้องมีคุณสมบัติได้รับรองมาตรฐาน ระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO 9001) และมาตรฐานระบบ การจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) และสำนักหอสมุดมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับทำความสะอาด เพื่อให้การดำเนินการควบคุมงานตรวจ การจ้างเหมารักษาความสะอาดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสอดคล้องกับสัญญาจ้างโดยการประเมินการทำความสะอาดประจำเดือน (3.3-1, 3.3-2)
4. มีการสื่อสารและรณรงค์ให้ผู้รับบริการและบุคลากรห้องสมุด ประหยัดไฟฟ้า ประหยัดน้ำ และประหยัดทรัพยากร ตามแผนงานที่กําหนด สำนักหอสมุดมีการสื่อสารและรณรงค์ให้ผู้รับบริการและบุคลากรห้องสมุด ประหยัดไฟฟ้า ประหยัดน้ำ และประหยัดทรัพยากร ดังนี้ 1. กำหนดมาตรการการใช้พลังงานไฟฟ้า การประหยดน้ำและการจัดการขยะ (3.4-1) 2. มีสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (3.4-2) 3. มีการสื่อสารให้กับบุคลากรและผู้ใช้บริการผ่านหน้าเว็บไซต์ของสำนักหอสมุด, Facebook และเสียงตามสาย (3.4-3)
5. มีการกําหนดแผนงานและดําเนินการจัดซื้อ/ จัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (อ้างอิงบัญชี รายการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในคู่มือ การจัดซื้อ/ จัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฉบับล่าสุด หรือสินค้าชุมชนเพื่อใช้ในกิจกรรมการให้บริการของห้องสมุด รวมทั้งกิจกรรมการประชุมและ จัดนิทรรศการ สำนักหอสมุดมีการกําหนดแผนงานและดําเนินการจัดซื้อ/จัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (อ้างอิงบัญชี รายการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในคู่มือการจัดซื้อ/จัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม) นอกจากนี้ สำนักหอสมุดได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการลดโลกร้อน โดยการจัดซื้อและ จัดจ้างสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้ในการปฎิบัติงานและกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การใช้กระดาษพิมพ์เอกสารที่มียี่ห้อหรือฉลากเกี่ยวกับการลดโลกร้อน และครุภัณฑ์สำนักงานที่มีสัญลักษณ์ ของการประหยัดพลังงาน เป็นต้น (3.5-1, 3.5-2)
6. มีแผนการและดําเนินการบํารุงรักษาระบบต่าง ๆ ที่มีในห้องสมุด ตามแผน อย่างต่อเนื่อง สำนักหอสมุดมีแผนการและดําเนินการบํารุงรักษาระบบต่าง ๆ ที่มีในห้องสมุด ได้แก่ การดูแลเครื่อง กำเนิดไฟฟ้า เครื่องปั่นไฟฟ้า การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ การบำรุงรักษาลิฟท์ การตรวจเช็คคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เป็นไปตามแผนอย่างต่อเนื่อง ในด้านการบำรุงรักษาระบบต่าง ๆ ที่มีในสำนักหอสมุด ได้จัดทำแผนบำรุงรักษาและมีการตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เครื่องคอมพิวเตอร์ในสำนักงาน เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับให้บริการการทำความสะอาดกระจกรอบอาคาร การตรวจสอบอุปกรณ์ระบบเหตุฉุกเฉิน ทั้งนี้ได้มีการตรวจติดตามจากผู้ที่เกี่ยวข้อง (3.6-1, 3.6-2, 3.6-3, 3.6-4, 3.6-5)
7. มีแผนงานและดําเนินการรวบรวมและบันทึกข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำ กระดาษ และทรัพยากรอื่นๆ โดยมี การรายงานผลเป็นประจําทุกปี พร้อมกับเปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลังเพื่อดูพัฒนาการ สำนักหอสมุดมีแผนงานและดําเนินการรวบรวมและบันทึกข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า น้ำ กระดาษ โดยจัดทำสถิติเป็นรายเดือน และเปรียบเทียบย้อนหลัง (3.7-1, 3.7-2, 3.7-3)
8. มีแผนงานและดําเนินการด้านการส่งเอกสาร และการเดินทาง โดยการบริหารจัดการระบบรถร่วม หรือการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (email), การประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (eMeeting) หรือระบบอื่น ๆ เพื่อลดเวลา และลดต้นทุนการส่งเอกสารหรือการเดินทางมาประชุม สำนักหอสมุดมีแผนงานและดําเนินการด้านการส่งเอกสาร และ การเดินทาง โดยการบริหารจัดการระบบรถร่วม หรือการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (email), การส่งจดหมายทางไลน์กลุ่ม, การประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) หรือระบบอื่นๆ เพื่อลดเวลา และ ลดต้นทุนการส่งเอกสารหรือการเดินทางมาประชุม โดยมีการจัดทำระบบ E-Document ประชุม E-Meeting, การขอใช้รถแบบออนไลน์, ระบบการลา (E-Leave) เป็นต้น นอกจากนี้มีการใช้ ระบบสารบรรณออนไลน์แทนการเวียนเอกสาร คำสั่ง ประกาศ ฯลฯ และใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น ไลน์ หรือ Facebook กลุ่ม ในการแจ้งข่าวกิจกรรมต่าง ๆ และใช้ประโยชน์การแชร์เอกสารจาก Google Drive นอกจากนี้ยังมอบให้ฝ่ายบริการแจ้งข่าวสารประชาสัมพันธ์กิจกรรมห้องสมุดผ่านทางเว็บไซต์และ Facebook แทนการติดประกาศโดยใช้กระดาษ (3.8-1)
9. มีแผนงานและดําเนินการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จําแนกจุดหรือกิจกรรมการปรับปรุง วางแผนและ ดําเนินมาตรการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และหรือการทํากิจกรรม ชดเชยคาร์บอน สำนักหอสมุดดำเนินการตามมาตรการการใช้ไฟฟ้า มาตรการ การใช้น้ำ น้ำมันเชื้อเพลิง วัสดุสิ้นเปลือง และมาตรการลดของเสีย เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการลดการใช้พลังงานและทรัพยากร และส่งผลให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักหอสมุดลดลงอีกด้วย และมีการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวบริเวณโดยรอบอาคารสำนักหอสมุด เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในเวลากลางทำให้อากาศรอบ ๆ อาคารมีความเย็นสบาย และช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากยิ่งขึ้น แต่ยังไม่มีการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่มีการทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอนโดยการปลูกต้นไม้ภายในและโดยรอบอาคาร (3.9-1)