หมวดที่ 2 โครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินงาน หลักฐาน
หมวดที่ 2 โครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
กรณีอาคารสร้างใหม่
1. มีการศึกษามาตรฐานและข้อกําหนดด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
2. มีแผนงานและมาตรฐาน เรื่องโครงสร้างอาคารและวัสดุประกอบอาคารที่เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
3. มีแผนงานและมาตรฐาน เรื่องการติดตั้งระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพ
4. มีแผนงานและมาตรฐาน เรื่องการติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน
5. มีแผนงานและมาตรฐาน เรื่องการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว
กรณีเป็นอาคารเก่า
1. มีการศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิมที่เป็นอุปสรรคต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สำนักหอสมุดมีการศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิมที่เป็นอุปสรรคต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม อาคารหลังเดิมสูง 7 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 11,500 ตารางเมตร และได้สร้างอาคารขนาด 3 ชั้น เชื่อมต่อกับอาคารหลังเดิม มีพื้นที่บริการรวม 13,900 ตารางเมตร โดยปรับพื้นที่ภายในสำนักหอสมุดเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ มีการสำรวจพื้นที่การใช้งาน มีการศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิม ที่เป็นอุปสรรคต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่าระบบเครื่องปรับอากาศเป็นระบบแอร์รวม ทำให้ควบคุมอุณหภูมิในบริเวณต่าง ๆ ได้ยาก และการใช้แผงไฟฟ้าแบบรวม ทำให้เกิดการสูญเสียไฟฟ้าในจุดที่ไม่มีเจ้าหน้าที่หรือผู้ใช้บริการอยู่ เพื่อการประหยัดพลังงานและประสิทธิภาพที่ดีกว่า มีการติดไฟแบบเชือกกระตุกตามพื้นที่ให้บริการ และมีการแจ้งแม่บ้านในการเปิด-ปิดมูลี่ในแต่ละช่วงเวลาของวัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาหนังสือ ครุภัณฑ์ และเพื่อลดการใช้แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าอีกด้วย
2. มีการกําหนดแผนงานปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคารให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สำนักหอสมุดมีการกําหนดแผนงานปรับปรุงโครงสร้างที่เชื่อมต่ออาคารลานรมณีย์ในส่วนต่าง ๆ ดังนี้ พื้นที่ชั้น 1 1. ปรับปรุงพื้นที่บริเวณด้านหน้า (อาคารลานรมณีย์) โดยเพิ่มโต๊ะและที่นั่ง พร้อมกับติดตั้งกันสาด และพัดลมเพดานเพื่อช่วยลดความร้อนบริเวณด้านหน้าอาคาร 2. ปรับปรุงพื้นที่บริเวณด้านหน้า (อาคารลานรมณีย์) ดำเนินการปลูกไม้เลื้อยบริเวณด้านหน้าและด้านข้างของอาคารเพื่อช่วยป้องกันแสงแดดและลดความร้อนภายในอาคาร พื้นที่ชั้น 2 1. พัฒนาให้เป็นห้องอ่านหนังสือ โดยเพิ่มพื้นที่ส่วนนี้ ให้เป็นที่นั่งอ่านและศึกษาค้นคว้า และห้องเอนกประสงค์ 3 ห้อง โดยให้บริการตลอดเวลาทำการของห้องสมุด 2. ปรับปรุงพื้นที่บริเวณด้านหน้า (อาคารลานรมณีย์) ชั้น 2 ดำเนินการปลูกไม้เลื้อย เพื่อช่วยป้องกันแสงแดดและลดความร้อนภายในอาคาร พื้นที่ชั้น 3 พัฒนาให้เป็นห้องอ่านหนังสือ โดยเพิ่มพื้นที่ส่วนนี้ให้เป็นที่นั่งอ่านและศึกษาค้นคว้า โดยช่วงสอบจะเปิดให้บริการถึงเวลาเที่ยงคืน การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ สามารถลดพลังงานไฟฟ้าได้ มีการติดฟิล์มเพื่อลดความร้อน และเพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลง การปรับปรุงโครงสร้างอาคารและวัสดุประกอบอาคารให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปรับปรุงเปลี่ยนฝ้าเพดานที่เป็นเชื้อรา การอุดรอยร้าวผนังอาคาร ทาสี และติดวอลเปเปอร์ เปลี่ยนพื้นกระเบื้องยางเป็นการปูด้วยกระเบื้องพื้น การแบ่งสัดส่วนพื้นที่สำหรับถ่ายเอกสารของร้านค้า มีการประกันอาคารสำนักหอสมุดเพื่อป้องกันทรัพย์สิน มีการกำจัดปลวก โดยการอัดฉีดสารเคมีชนิดน้ำลงดิน
3. มีการกําหนดแผนงานการปรับปรุงระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพ สำนักหอสมุดได้ใช้เครื่องปรับอากาศตั้งแต่เริ่มสร้างอาคาร ปีพ.ศ. 2539 จนถึงปีงบประมาณ 2562 ได้มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศใหม่บางจุดเพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน โดยทางมหาวิทยาลัยได้ส่งมอบเครื่องปรับอากาศในโครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศชนิด Variable speed/inventer ทดแทนของเดิมในอาคารควบคุมภาครัฐ มีการดูแลเครื่องปรับอากาศภายในอาคารอย่างสม่ำเสมอ มีการล้างเครื่องปรับอากาศ ปีละ 1 ครั้ง (2.3-1) และกำหนดตารางเวลาสำหรับเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศ (2.3-2)
4. มีการกําหนดแผนงานการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน สำนักหอสมุดได้ใช้ระบบไฟฟ้าตั้งแต่เริ่มใช้อาคาร และในปีงบประมาณ 2559 ได้มีการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน โดยติดตั้งสวิทซ์กระตุกแบบเชือกในบางพื้นที่และเปลี่ยนหลอดไฟฟ้า เป็น LED เพื่อการประหยัดพลังงานและประสิทธิภาพที่ดีกว่า มีการติดไฟแบบเชือกกระตุกตามพื้นที่สำนักงานและพื้นที่ให้บริการ จัดทำสติ้กเกอร์การเปิด-ปิดไฟฟ้าแต่ละชั้น (2.4-1)
5. มีแผนงานและมาตรฐาน เรื่องการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว สำนักหอสมุดมีแผนงานการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว จัดหาไม้ประดับที่สวยงาม และไม้ปลูกในร่ม รวมถึงต้นไม้ฟอกอากาศ และพืชที่เป็นอาหารได้ ซึ่งแนวปฏิบัติการดูแลพื้นที่สีเขียวของสำนักหอสมุด เพื่อให้บริเวณรอบอาคาร มีความสวยงาม ร่มรื่น และมีความน่าอยู่ ตามนโยบายการสร้างมหาวิทยาลัยสีเขียว สนับสนุนการดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยการปลูกต้นไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ และมีคนสวนดูแลพื้นที่สีเขียวบริเวณโดยรอบอาคารรวมถึงการตัดกิ่งไม้ ตัดหญ้ารอบอาคาร โดยปฏิบัติในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เนื่องจากการตัดหญ้าโดยใช้เครื่องตัดหญ้าอาจทำให้เกิดเสียงดังมากในระหว่างปฏิบัติงาน และจัดหาไม้ประดับที่มีความสวยงาม เหมาะกับการปลูกในร่ม และไม้ประดับที่สามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกและช่วยลดมลภาวะและโลกร้อนมาประดับในพื้นที่ให้บริการและตามจุดต่าง ๆ ภายในสำนักหอสมุด (2.5-1)