หมวดที่ 5 การบริหารจัดการและการให้บริการห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินงาน หลักฐาน
หมวดที่ 5 การบริหารจัดการและการให้บริการห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
1. มีนโยบายการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว มีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดําเนินงานแต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารและผู้แทนบุคลากรห้องสมุด เพื่อร่วมกันวางแผนและกําหนดแผนงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียวไว้ในแผนงานประจําปี มีการกํากับติดตามให้มีการดําเนินการตามแผนและมีการรายงานผลตามแผนไม่ต่ำกว่า ปีละ 2 ครั้ง สำนักหอสมุดให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยมหาวิทยาลัยได้กำหนดยุทธศาสตร์มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัย สีเขียว (Green University) ในแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา (พ.ศ. 2564 – 2567) (5.1-1) สำนักหอสมุด ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวจึงจัดทำนโยบาย ห้องสมุดสีเขียว (5.1-2) และได้แต่งตั้งคณะทำงานโครงการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวประกอบด้วยผู้บริหารและบุคลากรจากทุกฝ่าย (5.1-3) มีการประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดนโยบายการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว และจัดทำโครงการไว้ในแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. 2564-2565 (5.1-4) (5.1-5) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินงานโครงการห้องสมุดสีเขียวและ มีการติดตามผลดำเนินงานเป็นรายไตรมาส และรายงานผลต่อที่ ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักหอสมุด และรายงานผล การดำเนินงานต่อคณะกรรมการประจำสำนักทุก 6 เดือน รวมทั้งรายงานผลต่อมหาวิทยาลัยในระบบ SPMS (5.1-6)
2. มีแผนงานและการจัดกิจกรรมให้บุคลากรห้องสมุดผู้รับบริการ ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมและมีส่วนในการแสดงความคิดเห็น สำนักหอสมุดจัดอบรมโครงการถ่ายทอดความรู้เพื่อมุ่งสู่ห้องสมุด สีเขียวใน ปี พ.ศ. 2564 (5.2-1) เพื่อให้บุคลากรมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการห้องสมุดสีเขียว และระดมความคิดเพื่อจัดทำแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว มีการแจ้งร้านค้า บริษัททำความสะอาด พนักงานรักษาความปลอดภัยและผู้ใช้บริการในเรื่องการแยกขยะก่อนทิ้งตามประเภทถังขยะ งดการใช้กล่องโฟมใส่อาหาร และมีการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในเรื่องของสภาพแวดล้อมของสำนักหอสมุด (4.29) นอกจากนี้บุคลากรของสำนักหอสมุดได้มีการทำปุ๋ยเปลือกไข่ (5.2-2) และน้ำหมักชีวภาพ (5.2-3) เพื่อนำมาใส่ต้นไม้ในสำนักหอสมุดอีกด้วย
3. มีแผนงานและดําเนินการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่มีความทันสมัยและ หลากหลายรูปแบบ อย่างต่อเนื่อง จํานวนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 5 ของรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดและจัดเตรียมให้อยู่ในสภาพพร้อมให้บริการ สำนักหอสมุดมีแผนการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ โดยการจัดสรรงบประมาณประจำปี ดำเนินการจัดซื้อหนังสือ ตำรา ฐานข้อมูล ของสาขาวิชาต่าง ๆ รวมทั้งด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่มีความทันสมัยและหลากหลายรูปแบบและการรับบริจาคจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 การจัดหาหนังสือเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน สิ่งแวดล้อม ห้องสมุดสีเขียว และเกี่ยวกับองค์กรเชิงนิเวศ จำนวน 695 รายชื่อ (5.3-1) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักหอสมุดมีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ที่มีเนื้อหาเนื้อหาเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน สิ่งแวดล้อม ห้องสมุดสีเขียว และเกี่ยวกับองค์กรเชิงนิเวศ จำนวน 125 รายชื่อ (5.3-2) และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักหอสมุดมีหนังสือและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน สิ่งแวดล้อม ห้องสมุดสีเขียว และเกี่ยวกับองค์กรเชิงนิเวศ จำนวน 125 รายชื่อ จำนวน 200 รายชื่อ (5.3-3)นอกจากนี้ยังพบว่า ในฐานข้อมูลที่ให้บริการมีหนังสือและสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมให้บริการร่วมด้วย อาทิ ScienceDirect, SpringerLink เป็นต้น และได้รับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. มีบริการสืบค้นสารสนเทศ การสอนการรู้สารสนเทศและการส่งเสริมการใช้สารสนเทศรวมทั้งให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมระหว่างห้องสมุดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักหอสมุดมีการให้บริการสืบค้นสารสนเทศ โดยมีบรรณารักษ์แนะนำวิธีการสืบค้นสารสนเทศ และมีการอบรมทักษะการรู้สารสนเทศ (5.4-1) ให้กับผู้ใช้บริการเป็นประจำทุกเดือนมีการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดทั้งหนังสือทั่วไปและหนังสือด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และมีการส่งเสริมการใช้สารสนเทศในส่วนของมุม BUU Green Library และข่าวสารด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย (5.4-2)
5. มีแผนงานและจัดกิจกรรมส่งเสริม การอ่าน กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่มีรูปแบบหลากหลายสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย สำนักหอสมุดมีแผนงานและจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และ การเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยมี การแนะนำหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (5.5-1) และการจัดโครงการ Big Cleaning Day (5.5-2) เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ นอกจากนี้ยังได้รวบรวมเว็บไซต์หน่วยงานด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้เป็นแหล่งสารสนเทศในการให้บริการสืบค้นข้อมูลนอกเหนือจากทรัพยากรสารสนเทศที่มี ในห้องสมุด (5.5-3)
6. มีแผนงานและจัดการฝึกอบรมหรือ การพัฒนาบุคลากรห้องสมุด ให้มีความรู้ ด้านการอนุรักษ์พลังงานและ สิ่งแวดล้อม เป็นประจําทุกปี สำนักหอสมุดมีแผนงานและพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การอบรมดับเพลิงขั้นต้นและซ้อมอพยพหนีไฟ (5.6-1) และเข้าร่วมประชุม อบรมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่ดำเนินการจัดเกี่ยวกับเรื่องของห้องสมุดสีเขียว เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรตระหนักรู้และเข้าใจในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีการเข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม การเข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายของห้องสมุดอื่นๆ เพื่อให้ทราบและเข้าใจในทิศทางของการพัฒนาห้องสมุด สีเขียว (5.6-2)
7. มีแผนงานและดําเนินจัดกิจกรรมประหยัดพลังงานและการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตลอดปี สำนักหอสมุดมีแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว และจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ มาตรการการใช้ไฟฟ้า การใช้น้ำ และการจัดการขยะ มีการประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรและผู้ใช้รับทราบ (5.7-1) และมีการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว (5.7-2)โดยมีการจัดการประชุมเพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานเพื่อปรับแผนงานและตัวชี้วัดของการดำเนินงานในปีถัดไป