หมวดที่ 1 ทั่วไป

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินงาน หลักฐาน
หมวดที่ 1 ทั่วไป
1. การกําหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์
1.1 การพัฒนาห้องสมุดสีเขียวให้เป็น
แหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และให้บริการความรู้ที่สอดคล้องกับนโยบายการอนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อมของชาติ
สำนักหอสมุดมีการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวให้เป็นแหล่งเรียนรู้มีการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และให้บริการความรู้ที่สอดคล้องกับนโยบายการอนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อมของชาติ โดยกำหนดนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารงานห้องสมุด รวมทั้งกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและยุทธศาสตร์ตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว และมีการประกาศให้ทราบทั่วกัน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สำนักหอสมุดมีการดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการอนุกรรมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (1.1.1-1) โดยทบทวนและจัดทำนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (1.1.1-2) มีการกำหนดคณะทำงานด้านต่าง ๆ เพื่อวางแผนงาน/ มาตรการที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (1.1.1-3)
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักหอสมุดมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาองค์กรไปสู่ความเป็นห้องสมุดสีเขียว (Green Library) เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของหาวิทยาลัยในการสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยมีการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยสีเขียวและกลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เป็นห้องสมุดสีเขียว โดยได้รับการสนับสนุนการติดตั้งแผงโซลาเซล ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จากโครงการพัฒนาศักยภาพของมหาวิทยาลัยด้วยเทคโนโลยี และสร้างความมั่นคงให้กับชุมชน มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นจำนวน 95 แผง ขนาด การติดตั้ง 30.72 KW. ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 (1.1.1-4) และในปี พ.ศ. 2564 ได้กำหนดนโยบายการเป็นห้องสมุดสีเขียว (1.1.1-5) โดยกำหนดนโยบายให้เป็นไปตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2558 และเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2559 ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งนี้นโยบายห้องสมุดสีเขียวของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ได้มีการประกาศแจ้งให้บุคลากรรับทราบตลอดจนให้ผู้ใช้บริการรับรู้เพื่อให้เกิดความตระหนัก และเข้าใจ ในการพัฒนาและมุ่งสู่การเป็นห้องสมุดสีเขียวโดยมีการกำหนดโครงการ/ กิจกรรม ตามแผนยุทธศาสตร์ของสำนักหอสมุดปี 2563-2565 โดยขับเคลื่อนในรูปของคณะกรรมการตามหมวดต่าง ๆ (1.1.1-6) และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับมาตรการของการใช้ไฟฟ้า การใช้น้ำ และการจัดการขยะ (1.1.1-7) รวมทั้ง  ปรับกิจกรรมจาก
5ส เป็น 7ส (1.1.1-8-1.1.1-9)
พันธกิจ
1.2 เป็นแหล่งบริการความรู้ด้านพลังงาน
และสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัย สอดคล้องกับ
ทิศทางการพัฒนา ประเทศ และตรงตามต้องการของชุมชนและสังคม
สำนักหอสมุดมีการจัดหาหนังสือที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ทั้งในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นแหล่งให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัย สามารถเข้าถึงและใช้ได้อย่างสะดวก ผ่านการสืบค้น Web OPAC ของสำนักหอสมุด (1.1.2-1) 1.1.2-1 Web Opac สำนักหอสมุด
1.3 จัดหาและจัดการทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สำนักหอสมุดจัดหาและจัดการทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มีการจัดสรรงบประมาณในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่ครอบคลุมด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs และความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม(Bio- Circular-Green Economy-BCG พร้อมกำหนด
ตัวชี้วัดและเป้าหมาย
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 การจัดหาหนังสือเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน สิ่งแวดล้อม ห้องสมุดสีเขียว และเกี่ยวกับองค์กรเชิงนิเวศ จำนวน 695 รายชื่อ (1.1.3-1) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักหอสมุดมีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ที่มีเนื้อหาเนื้อหาเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน สิ่งแวดล้อม ห้องสมุดสีเขียว และเกี่ยวกับองค์กรเชิงนิเวศ จำนวน 125 รายชื่อ (1.1.3-2) และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักหอสมุดตั้งเป้าหมายจัดหาเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก จำนวน 200 รายชื่อ (1.1.3-3)
1.4 จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สำนักหอสมุดจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ หน้าเว็บไซต์ Green Library (1.1.4-1) และจัดมุม Buu Green library (1.1.4-2)
1.5 ส่งเสริมให้บุคลากรห้องสมุดและผู้รับบริการมีความรู้ความเข้าใจ และ
มีความตระหนักรู้ในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
สำนักหอสมุดส่งเสริมให้บุคลากรและผู้รับบริการ มีความรู้
ความเข้าใจ และมีความตระหนักรู้ในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยจัดทำมาตรการการใช้ไฟฟ้า การใช้น้ำ และการจัดการขยะ มีการควบคุมการปิด-เปิดเครื่องปรับอากาศ
การใช้ไฟฟ้า การแยกประเภทถังขยะ ได้แก่ ขยะทั่วไป
ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความตระหนัก
ในการทิ้งขยะและการคัดแยกขยะ (1.1.5-1, 1.1.5-2) และ
มีสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการประหยัดน้ำ ไฟฟ้าในสำนักหอสมุด (1.1.5-3)
1.6 ส่งเสริมการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำนักหอสมุดส่งเสริมการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้บุคลากรใช้แก้วน้ำส่วนตัว ในการซื้อกาแฟจากร้านค้า การใช้กล่องอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
และการนำน้ำจากสระมารดต้นไม้ของสำนักหอสมุด (1.1.6-1)
เป้าหมาย
1.7 ห้องสมุดเป็นแหล่งบริการความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการให้บริการความรู้ตามบริบทของแต่ละห้องสมุด สำนักหอสมุดเป็นแหล่งบริการความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ทั้งในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นอกเหนือจากการให้บริการในสำนักหอสมุดแล้ว ยังได้นำความรู้ไปร่วมกับชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข ในเรื่องของการคัดแยกขยะ และการให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม โดยเข้าร่วมโครงการกิจกรรมการเผยแพร่ความรู้ และผลงานเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ดำเนินการจัดกิจกรรมแนะนำหนังสือและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ กิจกรรมขยะแลกต้นไม้ และเกมคัดแยกขยะกันเถอะ ในโครงการ“รักษ์โลก….รักทะเล” ณ ชายหาดบางแสน เพื่อสร้างความตระหนักรู้และกระตุ้นจิตสำนึกในการร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนทั่วไป (1.1.7-1)
1.8 ห้องสมุดมีทรัพยากรสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่ทันสมัย สอดคล้องกับทิศทางการฒนาประเทศ และตรงตามความต้องการของชุมชนและสังคม สำนักหอสมุดมีทรัพยากรสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัย สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) และด้านความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Bio- Circular-Green Economy-BCG) และตรงตามความต้องการของชุมชนและสังคม (1.1.8-1)
1.9 ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สำนักหอสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยมีหนังสือทั้งในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้บริการในสำนักหอสมุด
(1.1.9.-1, 1.1.9-2)
1.10 บุคลากรห้องสมุดและผู้รับบริการ มีความรู้ ความเข้าใจและมีความตระหนักรู้ ในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม บุคลากรห้องสมุดมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักรู้ในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยจัดทำมาตรการการใช้ไฟฟ้า การใช้น้ำ และการจัดการขยะ มีการควบคุมการปิด-เปิดเครื่องปรับอากาศ การใช้ไฟฟ้า การจัดการขยะ
ในส่วนของผู้รับบริการมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการแยกประเภทถังขยะ ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย เพื่อให้เกิดความตระหนักในการทิ้งขยะและการคัดแยกขยะการประชาสัมพันธ์นโยบายให้กับบุคลากรและผู้รับ
บริการรับทราบ 3 ช่องทาง ได้แก่
1. ประกาศนโยบายห้องสมุดสีเขียว (1.1.10-1)
2. ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ของสำนักหอสมุด (1.1.10-2)
3. ประชาสัมพันธ์ผู้ใช้บริการภายในสำนักหอสมุด และจดหมายข่าว (1.1.10-3)นอกจากนี้สำนักหอสมุด ได้มีการจัดโครงการถ่ายทอดความรู้ของโครงการห้องสมุดสีเขียว เพื่อให้บุคลากรทราบแนวทางและนโยบายในการดำเนินงานโครงการห้องสมุด สีเขียวให้มีความรู้ความเข้าใจ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และการเป็นห้องสมุดสีเขียว รวมถึงเพื่อจัดสภาพแวดล้อมที่ดีในส่วนของพื้นที่ปฏิบัติการและพื้นที่ให้บริการ รวมทั้งลดการใช้พลังงานและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่การเป็นห้องสมุดสีเขียว เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 (1.1.10-4) และ โครงการถ่ายทอดความรู้เพื่อมุ่งสู่การเป็นห้องสมุดสีเขียว โดยวิทยากร ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ ประธานกรรมการบริหารชมรมห้องสมุดสีเขียว เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom (1.1.10-5)
1.11 ห้องสมุดมีการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานลดการใช้ทรัพยากร
ลดปริมาณขยะและของเสีย โดยใช้หลักการและเครื่องมือที่เหมาะสม
สำนักหอสมุดเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน  โดยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและประหยัดค่าไฟฟ้าได้ลดการใช้ทรัพยากร ลดปริมาณขยะและของเสีย จากการแยกขยะ ทำให้สามารถนำขยะรีไซเคิลไปจำหน่าย ลดปริมาณขยะทั่วไป โดยได้มีการชั่งปริมาณขยะที่นำไปทิ้งทุกวันและนำมาเปรียบเทียบ รายเดือน มีการใช้กระดาษหน้าเดียวกลับมาใช้ซ้ำ มีการจัดการมลพิษทางอากาศ เช่น การล้างแอร์ เปิดหน้าต่าง เมื่อไม่เปิดแอร์ รณรงค์การไม่สูบบุหรี่ เป็นต้น (1.1.11-1, 1.1.11-2, 1.1.11-3,1.1.11-4) และมีการเปรียบเทียบการใช้ทรัพยากร (1.1.11-5)
ยุทธศาสตร์
1.12 มีการกําหนดให้นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายการบริหารจัดการห้องสมุด สำนักหอสมุดกำหนดนโยบายห้องสมุดสีเขียว และให้               การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารจัดการห้องสมุด โดยมีการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ของสำนักหอสมุด (1.1.12-1) และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยบูรพา (1.1.12-2)
1.13 มีการแลกเปลี่ยนและใช้ประโยชน์ทรัพยากรสารสนเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน สำนักหอสมุดจัดหาและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ทั้งในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีการแลกเปลี่ยนและใช้ประโยชน์ทรัพยากรสารสนเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมร่วมกันโดยการยืมระหว่างห้องสมุดร่วมกับห้องสมุดมหาวิทยาลัยอื่น ๆ (1.1.13-1)
1.14 มีการสร้างเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว พัฒนาความร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวของ สำนักหอสมุดสร้างเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว โดยการสมัครเข้าร่วมชมรมห้องสมุดสีเขียว เพื่อสร้างเครือข่ายและร่วมรับฟังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว และ ได้ร่วมมือกับเทศบาลเมืองแสนสุข ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  โดยเข้าร่วมโครงการ “รักษ์โลก….รักทะเล” ณ ชายหาดบางแสน ซึ่งจัดโดยเทศบาลเมืองแสนสุข และบริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) โดยจัดกิจกรรมแนะนำหนังสือและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม กิจกรรมขยะแลกต้นไม้ และเกมคัดแยกขยะกันเถอะ (1.1.14-1) และจัดโครงการ BUU Green Library “รักษ์ทะเล รักษ์สิ่งแวดล้อม”โดยร่วมเก็บขยะบริเวณชายหาดและรณรงค์การคัดแยกขยะ บริเวณศาลเจ้าพ่อแสน จนถึงวงเวียนปลาโลมา ชายหาดบางแสน เพื่อรักษาความสะอาดของชายหาดบางแสน รักษาสิ่งแวดล้อมชุมชน สร้างการมีส่วนร่วมและจิตสำนึกในการช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสำนักหอสมุดกับชุมชนเมืองแสนสุข (1.1.14-2)
1.15 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
สำนักหอสมุดมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมโดยเข้าร่วมฟังการเสวนาและการประชุมสามัญประจำปี 2564 ชมรมห้องสมุดสีเขียว เรื่อง ความท้าทายของห้องสมุดสู่ความยั่งยืนและ Carbon Neutrality และเข้าร่วมฟังการเสวนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว: บทเรียนและความท้าทายและสัมมนาความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2565 (1.1.15-1)
1.16 มีการประเมินผลการดําเนินงานห้องสมุดสีเขียวโดยใช้ตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม
สำนักหอสมุดประเมินผลการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว โดยใช้ตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม ตามผลการประเมินการดำเนินงานของปี 2563-2565โดยรับเป้าตัวชี้วัดจากมหาวิทยาลัยและตามแผนยุทธศาสตร์ของสำนักหอสมุด (1.1.16-1, 1.1.16-2)
2. มีการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นข้อมูลในการกําหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และนําไปสู่การกําหนดแนวทางการดําเนินงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ การเป็นห้องสมุดสีเขียว
สำนักหอสมุดมีการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้า การใช้น้ำ และการจัดการขยะ เพื่อเป็นข้อมูลในการกําหนดเป้าหมาย และยุทธศาสตร์ โดยมีการเปรียบเทียบการใช้พลังงานไฟฟ้า การใช้น้ำ การลดลงของปริมาณการเกิดขยะในพื้นที่ เพื่อนําไปสู่การกําหนดแนวทางการดําเนินงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ การเป็นห้องสมุดสีเขียว ตามแผนยุทธศาสตร์ปี 2564 (1.2-1) และ 2565 (1.2-2)
3. กําหนดขอบเขตการดําเนินงานตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ซึ่งสามารถดําเนินการทั้งหมด หรือเฉพาะส่วน โดยไม่นับรวมกิจกรรมของห้องสมุดที่ไม่มีนัยสําคัญในการก่อให้เกิดผลกระทบต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ต้องมีการชี้แจงเหตุผลประกอบในกรณีที่ไม่ดําเนินการทั้งหมด สำนักหอสมุดกำหนดขอบเขตการดําเนินงานตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว และจัดทำแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียวปี 2563-2565 และผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ปี 2563-2565 (1.3-1, 1.3-2)