บ่อหินสูง

เจ้าจอมมารดาดารารัศมี

ความเป็นมา

        เจ้าจอมมารดาดารารัศมีเป็นธิดาของเจ้านครเชียงใหม่ เจ้าอินทวิไชยานนท์ ได้เข้ามารับราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งสนมเอก ในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเจ้าจอมมารดาดารารัศมีทรงป่วยกระเสาะกระแสะเรื้อรังมาช้านานได้ทรงพักรักษาพระองค์ที่ตำบลอ่างศิลา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๙ เพราะตำบลอ่างศิลามีอากาศดี เป็นที่พักตากอากาศชายทะเลแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชวงศ์ ขุนนาง และชาวต่างประเทศนิยมมาพักผ่อนตากอากาศและพักฟื้นจากการเจ็บไข้ ขณะที่ทรงรักษาพระองค์อยู่นั้นทรงเห็นว่าตำบลอ่างศิลากันดารน้ำจืดจึงมีพระประสงค์ให้ประชาชนตำบลอ่างศิลาและผู้ที่จะมาในที่นี้มีน้ำจืดไว้ใช้ ทรงให้พระยาศรีธรรมาธิราชได้ว่าจ้างขุดบ่อขณะนั้นประชาชนในตำบลอ่างศิลามีชาวจีนมากกว่าคนไทยเป็น ๓ เท่า จากราษฎรทั้งหมด ๗๔๐ คนเศษ
     การดำเนินการขุดบ่อ เมื่อขุดบ่อแรกปรากฎว่าไม่มีน้ำจืดจึงย้ายที่แห่งใหม่อีก และได้น้ำจืดที่เป็นตาน้ำ มีน้ำดี
ลักษณะบ่อน้ำที่ขุด เป็นบ่อกว้าง ๖ ศอก ทรงสี่เหลี่ยม ค้าจ้างและค่าไม้สิ้นเงิน ๓๑๐ บาท และได้ทรงสร้างศาลาเป็นที่พักผู้ซึ่งจะไปตักน้ำหลังหนึ่งสิ้นเงิน ๓๔๕ บาท รวมเป็นเงิน ๖๕๕ บาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ เจ้ากรมสมมติ เป็นผู้หาแผ่นศิลา เขียนป้ายชื่อ และได้จัดพิธีทำบุญฉลองบ่อน้ำ สวดมนต์และถวายภัตตาหารพระสงฆ์ วันที่ ๒๗-๒๘ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๕
     จากแผนผังที่แนบได้แสดงระยะทางจากวัดอ่างศิลาถึงบ่อน้ำประมาณ ๕๐๐ เมตร ที่สร้างไกลออกมาจาก
อาศัยสถานและวัดอ่างศิลาเพราะต้องการน้ำจืด บ่อหมายเลข ๔ มีลักษณะขนาดเท่ากับบ่อหมายเลข ๑ ซึ่งมีขนาด
บ่อใหญ่กว่าบ่อน้ำอื่นๆ

      อิฐนี้ตามรูปเต็มมีขนาดสี่เหลี่ยม ขนาด ๒๕x๔๕ ตารางเซนติเมตร มีอยู่ที่บ่อหมายเลข 1 และหมายเลข ๔ ตามแผนผังในหนังสืออ่างศิลาวันวาน…ถึงวันนี้ อิฐนำมาจากบ่อหมายเลข ๑ ที่หลงเหลืออยู่ข้างบ่อเมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๑ โดย นายสิทธิชัย อิ่มอ่อง และนายจุมพล หงษ์ทอง เพื่อรอการพิสูจน์จากสำนักโบราณคดี กรมศิลปากรใช้วัสดุอิฐบุรอบบ่อแบบเดียวกัน แต่บ่อหมายเลข ๑ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมอยู่บ้างมากกว่าบ่อหมายเลข ๔ และเป็นที่ที่ประชาชนจัดทำพิธีกองข้าวมาแต่โบราณ มีร่องรอยซ่อมแซมบ่อน้ำมาโดยตลอด ปัจจุบันที่บ่อหมายเลข ๑ นี้ ได้เขียนชื่อคนซ่อมไว้ที่ปากบ่อว่า
“วันที่ ๒๕-๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้ซ่อมแซม นายอวบ เหลืองอร่าม, นายแหลม เวสารัช และนายสุเมธ ลาภากรณ์ (ผู้เริ่มดำเนินการ)” ที่บ่อหมายเลข ๓ บุรอบบ่อด้วยอิฐทรงโค้งและมีศาลที่พักอยู่หลังหนึ่งจากการบอกเล่าของผู้เฒ่าว่า บ่อหมายเลข ๑ เดิมมีป้ายชื่อติดไว้ด้วยศิลาแต่อักษรมองเห็นไม่ชัดได้มีหลักฐานของก้อนอิฐจากบ่อหมายเลข ๑ ไว้ที่ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี โรงเรียนชลกันยานุกูล
รอการพิสูจน์ระบุถึงบ่อนพรัฐ จากผู้รู้ในโอกาสต่อไป

บ่อน้ำจืดธรรมชาติ

แกลลอรี่