กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Friday Talk ครั้งที่ 2/2565

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Friday Talk

ครั้งที่ 2/2565

      สำนักหอสมุดจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Friday Talk ครั้งที่ 2/2565 หัวข้อ “ทบทวนการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า ตามมาตรการของสำนักหอสมุด”  นำเสนอโดย นายปวเรศ นวลแก้ว ประธานฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565 เวลา 13.30 น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุม 201 และผ่านโปรแกรม Zoom  ได้ข้อสรุปดังนี้

      สถานการณ์การใช้พลังงานไฟฟ้าของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา

      จากข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าของสำนักหอสมุด ระหว่างไตรมาสแรกของปี 2565 พบว่า สำนักหอสมุดใช้ไฟฟ้าปริมาณมากและจ่ายค่าไฟฟ้าเป็นเงินจำนวนมาก  เพื่อให้บุคลากรของสำนักหอสมุดตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงจัดให้มีการทบทวนการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าตามมาตรการของสำนักหอสมุด ดังนี้

      มาตรการควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้า สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา

      เครื่องปรับอากาศ

  1. ตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 25 – 26 องศาเซลเซียส
  2. ลดชั่วโมงการทำงานของเครื่องปรับอากาศโดยกำหนดเวลาเปิด – ปิด (ตามตารางเปิด – ปิดเครื่องปรับอากาศ)
  3. ลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

          3.1 เปิด – ปิด ประตูเข้าออกเท่าที่จำเป็น ระมัดระวังไม่ให้ประตูเปิดค้างไว้

          3.2 ล้างทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ 2 ครั้ง/ปี

          3.3 ตรวจ เช็ค ทำความสะอาดครั้งใหญ่โดยช่างผู้ชำนาญการ 1 ครั้ง/ปี

          3.4 ตรวจสอบดูแลการทำงานของเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ

ตารางเปิดเครื่องปรับอากาศ

พื้นที่
ห้อง
เวลาเปิด
ชั้น 2
ห้อง 101, 102
11.00 น.
ห้อง 103
08.00 น.
ห้อง 105, 106
08.10 น.
ห้อง 108
09.10 น.
ห้อง 109
08.45 น.
ชั้น 7
ห้อง 701
09.00 น.

วันจันทร์ – วันศุกร์
พื้นที่
ห้อง
เวลาเปิด
ชั้น 2
ห้องโถงและห้องหนังสือภาษาต่างประเทศ
10.00 น.
ชั้น 3
ห้องโถง
10.10 น.
ชั้น 4
ห้องโถง
10.20 น.
ชั้น 5
ห้องโถง
10.30 น.
ชั้น 6
ห้องโถงและห้อง Cyber Zone 1
10.40 น.
หมายเหตุ : ปิดเครื่องปรับอากาศทุกชั้น เวลา 16.00 น.

วันเสาร์
พื้นที่
ห้อง
เวลาเปิด
ชั้น 2
ห้องโถงและห้องหนังสือภาษาต่างประเทศ
11.00 น.
ชั้น 3
ห้องโถง
11.10 น.
ชั้น 4
ห้องโถง
11.20 น.
ชั้น 5
ห้องโถง
11.30 น.
ชั้น 6
ห้องโถงและห้อง Cyber Zone 1
11.40 น.
หมายเหตุ : ปิดเครื่องปรับอากาศทุกชั้น เวลา 18.00 น.
      การใช้ไฟฟ้าและแสงสว่าง
  1. ให้เปิดไฟเฉพาะจุดที่พบว่ามีแสงสว่างไม่เพียงพอ หรือเปิดเฉพาะในส่วนที่จำเป็น
  2. ปิดสวิทช์ไฟในห้องทำงานและห้องปฏิบัติการระหว่างเวลาหยุดพักกลางวัน
  3. ปิดไฟเมื่อไม่มีผู้ปฏิบัติงานและหลังเลิกงาน
  4. ทำความสะอาดหลอดไฟฟ้าและโคมส่องสว่างอย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี
  5. ถอดปลั๊กหรือปิดสวิทช์ไฟฟ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดหลังเลิกงาน
  6. เมื่อต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ให้ใช้เฉพาะอุปกรณ์ประหยัดพลังงานเบอร์ 5 ที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น

      ลิฟต์

  1. เปิดลิฟต์ 1 ตัว เวลา 8.00 น.
  2. เปิดลิฟต์เพิ่ม 1 ตัว เวลา 10.00 น.
  3. ปิดลิฟต์ 1 ตัว เวลา 18.00 น.
  4. ปิดลิฟต์ตัวที่เหลือ (1 ตัว) ในเวลาปิดบริการ
  5. เปิดลิฟต์ขนของเวลา 8.00 น. และปิดในเวลา 16.30 น.

     

      กิจกรรมกลุ่ม เพื่อการระดมความคิดเห็นด้านการอนุรักษ์พลังงาน บุคลากรได้แบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่มโดยแต่ละกลุ่มร่วมนำเสนอแนวคิดในการอนุรักษ์พลังงานของสำนักหอสมุด ดังนี้

  1. กลุ่ม BULE เสนอมาตรการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ดังนี้

         1.1  ถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้งาน

         1.2 ปรับระบบแอร์ท่อ เป็นแอร์แยกส่วน

         1.3  ทดลองปิดไฟเฉพาะส่วน (เลือกพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการสำนักหอสมุด)

         1.4 ตู้เย็นเก่า หมั่นละลายน้ำแข็งเมื่อเห็นว่านำแข็งเกาะหนามาก

         1.5 นำระเบียบการขอใช้บริการที่ห้องสมุดมาใช้เพื่อจัดเก็บเป็นรายได้เข้าห้องสมุด

  1. กลุ่ม Red 7 เสนอโครงการ “ใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างคุ้มค่าด้วยตัวเราเอง” โดยดำเนิน ดังนี้

          2.1 การสำรวจอุปกรณ์ไฟฟ้าในฝ่ายเพื่อทราบจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งาน ศึกษา รวบรวม และจัดทำวิธีการใช้อุปกรร์ไฟฟ้าอย่างถูกวิธีและคุ้มค่า

          2.2 จัดทำป้ายวิธีการใช้โดยจัดทำเป็น QR Code 

          2.3 ทำป้ายประกาศทั้งในลิฟท์ และในฝ่าย

          2.4 ทำประกาศเสียงตามสายในห้องน้ำเป็นระยะ

         2.5 จัดอบรมบุคลากรให้ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น

         2.6 ทำสื่อ โฆษณา ประชาสัมพันธ์

  1. กลุ่ม SHARE เสนอโครงการ “แบ่งโซนหนังสือและพื้นที่นั่งอ่าน”

         3.1 แบ่งห้อง โดยกั้นพื้นที่เป็นห้องกระจก เนื่องจากจะช่วยให้พื้นที่สามารถมองเห็นผู้ใช้บริการเพราะมีแสงสว่างส่องถึงและสามารถประหยัดแอร์ได้ เพราะเปิดเฉพาะพื้นที่ได้

         3.2 แยกพื้นที่นั่งอ่านออกจากชั้นหนังสือ จะได้เปิดแอร์เฉพาะส่วนผู้ใช้บริการ

 
  1. กลุ่มนีออน เสนอโครงการ “เปลี่ยนหลอดไฟฟ้าเป็น LED และระบบเปิด-ปิด ด้วยเซ็นเซอร์”

         4.1 สำรวจหลอดไฟฟ้าแต่ละพื้นที่

         4.2 สังเกตพฤติกรรมของผู้ใช้บริการในการใช้พื้นที่แต่ละชั้น

         4.3 จัดโซนพื้นที่บริการ เช่น ชั้นหนังสือใช้เซ็นเซอร์ในการตรวจจับ

         4.4 พื้นที่ส่วนที่เป็นบริเวณนั่งอ่านเปลี่ยนเป็นหลอด LED

         4.5 จัดทำป้ายผู้ใช้บริการในพื้นที่ที่ได้จัดโซน

  1. กลุ่ม ไม่มีสี เสนอโครงการ “ติดฟิล์มกรองแสงกันความร้อน”

      ดำเนินการติดฟิล์มกรองแสงกันความร้อนบริเวณภายในอาคาร โดยคุณลักษณะของฟิล์มที่ใช้จะสะท้อนความร้อนออกจากอาคารเพื่อป้องกันความร้อนภายในอาคารและช่วยในเรื่องแสงสว่างเข้ามาภายในอาคารได้ เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าจากหลอดไฟและช่วยให้เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลง