หมวดที่ 4 การจัดการของเสียและมลพิษ

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินงาน หลักฐาน
หมวดที่ 4 การจัดการของเสียและมลพิษ
1. มีแผนงานและดําเนินการจัดการขยะ โดยเลือกวิธีการจัดการที่เหมาะสม ลดปริมาณขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนํากลับมาใช้ใหม่ (Recycle) มีการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกและบันทึกปริมาณขยะ มีพื้นที่รวบรวมขยะก่อนส่งกําจัดและมีวิธีการส่งกําจัดที่ เหมาะสมสําหรับขยะแต่ละประเภท สํานักหอสมุดดําเนินการด้านการจัดการขยะ โดยมีการจัดหาถังขยะแบ่งตามประเภทได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย ไว้ให้บริการตามจุดพื้นที่ต่าง ๆเพื่อให้บุคลากรและผู้ใช้บริการได้ทิ้งขยะตามถังที่แยกประเภทไว้ โดยมีแม่บ้านรวบรวมและนําส่งต่อในการรับขยะแต่ละประเภทต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนของขยะรีไซเคิล แม่บ้านจะนํามารวมไว้ที่จุดส่วนกลาง เพื่อนําไปจําหน่ายเป็นรายได้ของสํานักหอสมุดต่อไป ในส่วนของขยะทั่วไป แม่บ้านแต่ละชั้นจะนํามาชั่ง และนําไปทิ้งในถังขยะที่มหาวิทยาลัยจัดไว้ให้(4.1-1, 4.1-2, 4.1-3)
2. มีแผนงานและดําเนินการจัดการน้ำเสียโดยเริ่มจากการวิเคราะห์คุณภาพนํ้า เพื่อเลือกแนวทางในการจัดการ น้ำเสีย อย่างเหมาะสม เช่น การเลือกใช้น้ำยา ทําความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การติดตั้งระบบบําบัด น้ำเสีย เป็นต้น มีการดูแลและตรวจสอบระบบบําบัดนํ้าเสียอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการลดปริมาณ การใช้น้ำ หรือใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักหอสมุดมีแผนงานและดําเนินการจัดการน้ำเสีย มีการเลือกใช้น้ำยาทําความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การติดตั้งระบบบําบัดน้ำ และมีการบันทึกการตักไขมัน (4.2-1) มีการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ (4.2-2) เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการน้ำเสียในเรื่องของการประหยัดน้ำ ได้จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ติดตามห้องน้ำในชั้นต่าง ๆ เพื่อให้บุคลากรและผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการประหยัดน้ำในส่วนของการใช้น้ำยาทั้งในส่วนของน้ำยาทำความสะอาดพื้นและห้องน้ำ ได้มีการกำหนดไว้ใน TOR (4.2-3) ว่าบริษัทรักษา ความสะอาด ต้องจัดหาอุปกรณ์และน้ำยาทำความสะอาดที่ไม่เสื่อมคุณภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการรับรองขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย และได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม และมีฉลากสิ่งแวดล้อมกำกับ โดยการปฎิบัติงานจะมีบุคลากรของสำนักหอสมุด ช่วยควบคุมดูแลและรายงานทุกเดือน
3. มีแผนงานและดําเนินการจัดการมลพิษทางอากาศเช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย สารเคมี ควันบุหรี่ เป็นต้น มีการจัดพื้นที่ให้อากาศหมุนเวียนอย่างเพียงพอ และถ่ายเทโดยสะดวก มีการกําจัดฝุ่นบนชั้นหนังสืออย่าง สม่ำเสมอ รวมทั้งมีการกําหนดและตรวจตราให้ห้องสมุด เป็นเขตปลอดบุหรี่ตลอดจน มีการจัดการเพื่อควบคุมเสียงในห้องสมุด สำนักหอสมุดตระหนักถึงการจัดการมลพิษทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง ไรฝุ่น ฯลฯ ทั้งนี้ ในส่วนของ TOR ของบริษัททำความสะอาดได้มีข้อกำหนดของการทำความสะอาด (4.3-1) ได้แก่ฝุ่นละออง ไรฝุ่น ของวัสดุ ครุภัณฑ์ เครื่องใช้สำนักงานเครื่องใช้ไฟฟ้า ตลอดจนการปัดหยากไย่ บริเวณผนัง เพดาน และการดูดฝุ่นพรม ตามแต่ละชั้นของสำนักหอสมุด โดยกำหนดเป็นเกณฑ์ในการทำความสะอาดประจำสัปดาห์ และประจำเดือน โดยมีบุคลากรเป็นกรรมการตรวจรับ นอกจากนี้ยังมีการติดป้ายสัญลักษณ์ ห้ามสูบบุหรี่ ติดไว้ในพื้นที่ของอาคารที่ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการสูบบุหรี่ (4.3-2) ในส่วนของการจัดการเพื่อควบคุมเสียง ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่มีการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของห้องสมุด หรือมีกิจกรรมอื่นๆ อันเกิดจากการใช้เสียง ซึ่งทำให้เกิดการรบกวนผู้ใช้บริการทางสำนักหอสมุดจะแจ้งผู้ใช้บริการ เนื่องจากการปฎิบัติงานหรือกิจกรรมดังกล่าว อาจก่อให้เกิดการรบกวนผู้ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุด นอกจากนี้หากในช่วงสอบที่มีนิสิตใช้บริการจำนวนมาก และมีเสียงดังรบกวนผู้ใช้บริการคนอื่น ๆ จะใช้เสียงตามสาย ประกาศแจ้งเตือนผู้ใช้บริการเป็นระยะ ๆ
4. มีการดําเนินการกิจกรรม 5 ส. อย่างสม่ำเสมอเพื่อจัดพื้นที่บริการและพื้นที่สํานักงานให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย สำนักหอสมุดดําเนินการจัดกิจกรรม 5ส ในโครงการ Happy Workplace สร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่ทำงานทำให้บุคลากรตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและมีคุณค่า รวมไปถึงการสร้างความสามัคคีในการทำงาน โดยมีหลักเกณฑ์ในการตรวจกิจกรรม 5ส และมีการตั้งกรรมการเพื่อดำเนินการตรวจพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ และในปี 2565 ได้จัดทำกิจกรรม 7ส โดยเพิ่มเรื่องสิ่งแวดล้อมและความสวยงาม (4.4-1, 4.4-2, 4.4-3)
5. แผนงานและดําเนินการเตรียม ความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ระงับเหตุฉุกเฉิน เช่น อัคคีภัย อุทกภัยและวาตภัย เป็นต้น ตามกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมหรือตามที่กฎหมายกําหนด รวมทั้งการดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ระงับเหตุฉุกเฉินดังกล่าว ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ สำนักหอสมุดมีแผนงานและดําเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน โดยจัดโครงการฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นและซ้อมอพยพหนีไฟ มีการตรวจสอบถังดับเพลิง และไฟฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องทุกเดือน (4.5-1, 4.5-2, 4.5-3)